Sunday, August 30, 2015

ต๊าป (Tap)

มีหลายๆ คนที่รู้จัก "ต๊าป" และ "ดายส์" โดยเฉพาะคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องมือ, เครื่องจักรกล เช่น ช่างเทคนิค, ช่างทั่วไป หรืแม้กระทั่งช่างประจำบ้านที่ต้องมีการซ่อมแซมเครื่องใช้อยู่ประจำ. บล็อกนี้จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับ ต๊าป และ ดายส์ เทคนิคการใช้งานต่างๆ มาฝาก.





รูปด้านบนแสดงชิ้นส่วนที่มีการทำเกลียวนอกและเกลียวใน ชิ้นส่วนด้านซ้ายภายในรูมีการทำเกลียวซึ่งเราจะเรียกว่าเกลียวในเป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการ "ต๊าปเกลียว (Tapping)" ส่วนรูปด้านขวาเป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการ "ดายส์เกลียว (Dies)" ซึ่งในการผลิตในงานอุตสาหกรรมจริงๆ แล้ว อาจมีกระบวนการอื่นที่สามารถทำเกลียวนอกและเกลียวในได้อีก เช่น การกลึงเกลียวนอกและเกลียวใน, การรีดเกลียว เป็นต้น.


1.กระบวนการต๊าป (Tapping)

กระบวนการเป็นกระบวนการในการตัดเกลียวในจัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องมือตัด เป็นการตัดเกลียวภายในรู วัสดุหรือชิ้นงานต้องมีการเจาะรูมาก่อนตามขนาดมาตรฐานสำหรับการต๊าปเกลียวแต่ละขนาด รูปด้านล่างแสดงการลักษณะของเกลียวในที่เกิดจากการต๊าป


กระบวนการต๊าปเกลียวสามารถทำได้ทั้งแบบต๊าปมือและต๊าปด้วยเครื่องจักร

1.1 การต๊าปมือ (Hand Tapping)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการต๊าปมือประกอบด้วย

1) ดอกต๊าป (Tap)

ดอกต๊าปมือตามมตรฐานจะมีอยู่ 3 ดอก คือ


(1) Taper Tap : ลักษณะของดอกต๊าปจะมีส่วนที่เป็นเรียวตรงปลายความยาวประมาณ 8 - 10 เกลียว ช่วยในการควบคุมตำแหน่งความเที่ยวตรงของการต๊าป ซึ่งส่วนเรียวส่งนี้จะไปสัมผัสกับขอบของรูช่วยประคองดอกต๊าปในขณะที่ทำการต๊าป ทำให่การต๊าปทำได้ง่ายขึ้น ดอกต๊าปชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ในการตัดเกลียวในวัสดุที่มีความแข็งมาก เช่น Alloy และชิ้นงานที่ต้องการเกลียวขนาดเล็กซึ่งมีโอกาสสูงที่จะแตกหัก. ข้อเสียของดอกต๊าปแบบเรียวนี้ คือ หลังจากที่ต๊าปเกลียวแล้วหากช่วงของเกลียวที่ต้องการสั้นกว่าความยาวเกลียวของดอกต๊าปต้องใช้ดอกต๊าปดอกอื่นทำซ้ำอีกที และยังไม่เหมาะสำหรับการต๊าปรูที่ไม่ทะลุ เพราะได้ได้ความยาวเกลียวที่สั้นกว่าขนาดรูพอสมควร.

(2) Plug Tap : ลักษณะของดอกต๊าปจะคล้ายกับ Taper Tap แต่จะมีความยาวของช่วงที่เรียวน้อยกว่า โดยมีความยาวเรียวประมาณ 5 - 10 เกลียว หลายๆ ครั้งเราสามารถใช้ดอกต๊าปชนิดนี้แค่ดอกเดียวได้เลย เนื่องจากโครงสร้างตามรูปจะเห็นว่ามีช่วงเรียวช่วยในการประคองชิ้นงานและมีช่วงเกลียวที่ยาว เหมาะสำหรับงานที่เป็นรูเจาะทะลุหรือหากเป็นรูตันก็พอใช้ได้อาจจะมีช่วงปลายรูที่ไม่มีเกลียวเล็กน้อย

(3) Bottoming Tap : ดอกต๊าปชนิดนี้จะมีปลายเรียวเล็กน้อยเท่านั้นลักษณะเหมือน Chamfer เพื่อช่วยให้เข้าไปในชิ้นงานตอนเริ่มต้นต๊าปเกลียวได้มากขึ้นเท่านั้น ปลายเรียวนี้มีความยาวแค่ประมาณ 1 - 1.5 เกลียวเท่านั้น  ดอกต๊าปชนิดนี้เหมาะสำหรับรูที่ผ่านการต๊าปด้วยต้องต๊าปชนิดอื่นนำร่องมาก่อนแล้ว เนื่องจากส่วนปลายค่อนข้างที่จะควบคุมความเที่ยงตรงได้ยาก เพราะเมื่อต๊าปเริ่มตัดเกลียวเข้าไปในรูแล้ว หากไม่ตรงศูนย์กลางรูโอกาสที่ดอกต๊าปจะหักก็มีสูงมาก. ดอกต๊าปชนิดนี้เหมาะสำหรับทั้งรูทะลุและไม่ทะลุ

โดยส่วนมากแล้วในการต๊าปมือหากต้องการรูเกลียวที่มีความสมบูรณ์ควรจะใช้ดอกต๊าปทั้ง 3 ดอกเรียงตามลำดับที่กล่าวมา 

2) ด้ามต๊าป (Tap Shank)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจับยึดดอกต๊าปเพื่อทำการต๊าปเกลียว มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน

ตัวอย่างด้ามต๊าป






ตัวอย่างการต๊าปเกลียวมือ




Thank you for clip from 
https://www.youtube.com/watch?v=KVnN4jiB7Gk
















-